ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อคท่องเที่ยวเชียงใหม่ค่ะ

RSS

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

อาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน 

"เป็นกิจกรรมอะไรก็ได้ที่เป็นการให้เด็กทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มโดยมีอาจารย์เป็นพี่เลี้ยง มุ่งสร้างงาน
สร้างประชาธิปไตย นำวิชาการมาใช้ จะดีมากสำหรับลูกคนรวยสุดกับจนสุดจะได้ทำงานร่วมกัน เป็นเพื่อนกัน ปรับตัวเข้าหากัน เคยมีพ่อแม่ที่ร่ำรวยมาขอยกเว้นว่าเขามีเงินและลูกไม่ต้องทำงานได้ไหม ไม่อยากให้ลูกเหนื่อยบางทีก็มีรดน้ำขุดดิน ขายของ เราก็เลยต้องบอกไปว่าไม่ใช่เพื่อเงินนะแต่ว่าเด็กควรจะต้องรู้ว่าที่พ่อแม่มีเงินเป็นสิบล้านนี่มันได้มายังไง เหนื่อยแปลว่าอะไร นักเรียนต้องรู้นะ ถ้าไม่รู้ต่อไปเป็นประธานบริษัท ไปใช้งานลูกน้อง จะไปใช้ได้ไง คนเขากำลังเหนื่อย กำลังหิว ถ้าได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ไว้ก่อนจะทำให้เข้าใจชีวิตดีขึ้น"

* "คนส่วนใหญ่มักจะแปลความหมายของวิชาอาชีพว่าเป็นวิชาฝีมือต่างๆแท้จริงแล้ววิชาอาชีพน่าจะหมายถึง การรู้จักทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพ โดยประกอบอาชีพอะไรก็ได้ที่สุจริต ไม่ผิดศีลธรรมและเป็นการ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้างสำหรับการเรียนการสอนวิชาอาชีพในโรงเรียนนั้น มักจะสอนให้เด็กไปเป็นลูกจ้างเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่การสอนให้เป็นลูกจ้างนั้นยากกว่าการสอนให้เป็นนายตัวเอง ด้วยการประกอบอาชีพอิสระ เพราะอาชีพลูกจ้างจะถูก ระบุคุณสมบัติที่ใช้เวลาฝึกฝนและเตรียมตัวนานและตลาดแรงงานที่รับมีน้อย การสอนวิชาอาชีพอิสระนั้น จะเป็นการปลูกฝังให้เด็กเป็นนายตนเองไม่ต้อง เป็นลูกจ้าง แต่เป็นเจ้าของกิจการเล็กบ้าง ใหญ่บ้างตามกำลัง ในการทำจริงควรรวมกันเป็นกลุ่ม จะได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย ซึ่งวิธีการสอนวิชาอาชีพอิสระนั้น จะต้องปล่อยให้กิจกรรมเป็นของเด็กเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแลแนะนำ ไม่ใช่เป็นธุรกิจของโรงเรียน ซึ่งจะทำให้เด็กไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ขาดความกระตือรือร้นและคิดไม่เป็นว่าการทำมาหากินเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามการสอนวิชาอาชีพไม่จำเป็นต้องงดการสอนวิชาการ สอนวิชาการเท่าเดิมแต่การสอนวิชาชีพเป็นส่วนเสริมซึ่งแม้เด็กจะมุ่งเรียนต่อ ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องเสียหาย กลับเป็นการปลูกฝังคุณธรรมให้มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน และหมั่นศึกษาหาความรู้" 


วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีเข้าอินทขีล



ประเพณีเข้าอินทขีล คือการสักการบูชาเสาหลักเมือง อินทขีลหรือเสาหลักเมืองของเชียงใหม่นี้ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระญาแสนเมืองมา กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ซึ่งครองอาณาจักรล้านนาไทย

พระองค์ทรงสร้างวัดนี้ ขึ้นเมื่อ พ . ศ . ๑๙๕๕ อินทขีลนี้อยู่ในมณฑปจัตุรมุขวิหารทางด้านใต้ เสาหลักเมืองนี้ก่อด้วยอิฐถือปูน เชื่อกันว่าแต่เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมือง ( หรือวัดอินทขีล ) ซึ่งเป็นที่ตั้งหอประชุมติโลกราชปัจจุบันครั้นต่อมาได้ย้ายอินทขีลมาอยู่ที่ วัดนี้ ภายหลังได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ อินทขีลเป็นเสาหลักเมืองคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ เป็นที่เคารพสักการะและนับถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รวมวิญญาณของชาวเมืองและบรรพบุรุษในอดีตเป็นปูชนียสถานสำคัญของ เชียงใหม่

ในสมัยก่อน ได้มีการทำพิธีสักการบูชาอินทขีลเป็นประจำทุกปี การทำพิธีดังกล่าวนี้มักจะทำกันในปลายเดือน ๘ เหนือ ข้างแรมแก่ๆ ในวันเริ่มทำพิธีนั้นพวกชาวบ้านชาวเมืองทั้งเฒ่าแก่หนุ่ม – สาวก็จะพากันนำเอาดอกไม้ธูปเทียน น้ำขมิ้นส้มป่อยใส่พานหรือภาชนะไปทำการสระสรงสักการบูชา พิธีดังกล่าวนี้จะเริ่มทำในวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ และเสร็จเอาเมื่อวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ เป็นประจำทุกปี จึงเรียกกันว่า
 “ เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก ”


ในระหว่างการทำพิธีนี้ จะมีการจัดให้มีซอพื้นเมืองและมีช่างฟ้อนดาบ – ฟ้อนหอกสังเวยเทพยดาอารักษ์ ผี ( เสื้อ ) บ้าน
ผี ( เสื้อ ) เมือง


ในสมัยที่เชียงใหม่ยังมีเจ้าผู้ครองนคร ก่อนที่จะเริ่มทำพิธีเข้าอินทขีลก็จะมีผู้นำเข่งขนาดใหญ่ไปขอเรี่ยไรผักปลา อาหารจากชาวบ้าน ร้าน ตลาดทั่วไป ซึ่งทุกคนจะบริจาคให้ด้วยความเต็มใจ ผักปลาอาหารที่เขามาขอเรี่ยไรไปนั้น ก็เพื่อจะเอาไปปรุงอาหารเป็นเครื่องเซ่นสังเวยเทพยดาอารักษ์ พระเสื้อบ้านเสื้อเมือง ( ล้านนา เรียกว่า เชนบ้านเชนเมือง ) และกุมภัณฑ์ที่เฝ้ารักษาอินทขีลอยู่นั้น ที่เหลือก็จะเอาเลี้ยงดูผู้ที่ไปร่วมในงานด้วย ซึ่งจะมีชาวบ้านนอกมานอนค้างอ้างแรมร่วมงานด้วย เครื่องเซ่นสังเวยนี้ นอกจากอาหารที่เก็บจากชาวบ้านมาแล้ว ก็มีอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ซึ่งฆ่าสังเวยเป็นตัวๆ เช่น หมู วัว ควาย ไก่ เป็นต้น

นอกจากการสังเวยเซ่นสรวง แล้ว ก็มีการอัญเชิญผีบ้านผีเมือง เรียกว่า “ อาฮักเจ้าหลวงคำเขียว เจ้าหลวงคำแดง ” มาเข้าทรง และพวกเจ้านายที่เป็นเจ้าผู้ครองนครและญาติวงศ์ก็จะถามถึงความเป็นไปของบ้าน เมืองว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปจะมีเหตุเภทภัยประการใดหรือไม่ ฝนฟ้าและข้าวปลาอาหารจะบริบูรณ์ดีหรือไม่ อย่างไร “ คนทรง ”( หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ที่นั่ง หรือม้าขี่ของเจ้าพ่อ ) ก็จะพยากรณ์ให้ทราบเมื่อทราบว่าชาตาของบ้านเมืองไม่สู้ดีนัก ก็จะมีการทำพิธีทางไสยศาสตร์แก้ไข เป็นการปัดเป่าให้เบาบางลง ซึ่งเรียกว่า มีการทำพิธีสืบชาตาเมือง ( สืบ คำนี้หมายถึงต่อ หมายถึงการต่ออายุเมือง ) และก่อนที่จะมีการทำพิธีเข้าอินทขีล ก็มีการเลี้ยงผีปู่ย่าหรือปู่แสะย่าแสะที่ดอยคำก่อนด้วย

การทำพิธีดังกล่าวนี้ ในสมัยก่อนได้จัดทำกันเป็นงานใหญ่และทำกันเป็นประจำทุกปี ในสมัยเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา พิธีนี้ก็ได้เลิกล้มไป ปัจจุบันได้มีการรื้อฟื้นจัดทำประเพณีนี้ขึ้นอีก แต่ทำเฉพาะการบูชาอินทขีลเท่านั้น การเข้าทรงและอื่นๆ นั้นเลิกกันไป ประเพณีเข้าอินทขีลนี้เป็นประเพณีที่แสดงถึงความสามัคคีของประชาชนพลเมือง ซึ่งจะมีประชาชนทั้งชายหญิงไปร่วมในพิธีนี้ทุกวันจนเสร็จงาน


ประวัติความเป็นมาของอินทขีล
         เท่าที่ปรากฏหลักฐานจากหนังสือตำนานสุวรรณตำแดง ( ฉบับพระมหาหมื่นวัดหอธรรม ) ได้กล่าวถึงประวัติประเพณีนี้ว่า

ในสมัยก่อนโน้นบริเวณที่ ตั้งเมืองเชียงใหม่นี้ เป็นที่อยู่ของพวกลวะ และพวกลวะที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ถูกผีร้ายมารบกวนต่างๆ นานาเป็นที่เดือดร้อนทั่วทั้งเมือง พระอินทร์ทรงเล็งเห็นความเดือดร้อนของพลเมืองก็คิดที่จะช่วยเหลือโดยบอกให้ ชาวเมืองถือศีลรักษาคำสัตย์ บ้านเมืองจึงรอดพ้นจากอันตราย ชาวเมืองก็เชื่อฟังและปฏิบัติตาม เมื่อพระอินทร์ทรงเห็นว่าชาวเมืองมีศีลมีสัตย์ดีแล้ว ก็บันดาลให้บ่อเงินบ่อทอง และบ่อแก้วเกิดขึ้นภายในเมืองและให้ชาวเมืองอธิษฐานขอเอาตามความปรารถนา ในสมัยนั้นพวกชาวเมืองมีอยู่ ๙ ตระกูลก็แบ่งพวกเป็น ๓ หมู่ๆละ ๓ ตระกูล คอยอยู่เฝ้ารักษาบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้วนั้น พวกลวะทั้ง ๙ ตระกูลนี้เองที่ทำให้เมืองได้ชื่อว่า “ เมืองนพบุรี ”

ต่อมา พวกลวะ ๙ ตระกูลนั้น ได้สร้างเวียงสวนดอกและอาศัยอยู่ภายในเมืองนี้ด้วยความเจริญเป็นเวลานาน และต่างก็มีความสงบสุข เพราะมีของทิพย์เกิดขึ้นในบ้านเมืองของตน บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ดี

ต่อจากนั้น ข่าวความอุดมสมบูรณ์ของเมืองนพบุรีที่มีบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว และของทิพย์เกิดขึ้นในเมืองเป็นที่เลื่องลือทั่วไปตามบ้านต่างๆ ทั้งใกล้เคียงและห่างไกล พวกหัวเมืองต่างๆที่ได้ข่าวก็จะจัดรี้พลเป็นกองศึกยกมา จะชิงเอาบ่อเงิน บ่อทอง และบ่อแก้ว เมื่อชาวเมืองได้ทราบข่าวศึกก็มีความตกใจและขยาดหวั่นเกรงในการศึก จึงนำความไปแจ้งแก่ฤาษีที่มาจำศีลภาวนาอยู่ที่นั้นให้ช่วยเหลือ ฤาษีจึงนำเอาความไปกราบทูลให้พระอินทร์ทรงทราบ พระอินทร์จึงให้เรียกกุมภัณฑ์ ๒ ตนนั้นมา แล้วให้ขุดเอาอินทขีลเล่มกลางใส่สาแหรกเหล็กให้กุมภัณฑ์ ๒ ตนหาบลงไปฝังไว้ที่เมืองนพบุรี ( อินทขีลที่นี้ว่าเดิมอยู่บนสวรรค์และมีอยู่ด้วยกันหลายเล่มเล่มที่เอาฝังที่ เมืองนพบุรีนี้ว่าเป็นเล่มกลาง )

ด้วยอิทธิพลอำนาจของ อินทขีลนี้เอง บันดาลให้พวกข้าศึกที่ยกกองทัพมาชิงเอาเมืองนพบุรีนั้นกลายเป็นพ่อค้าไปหมด และเมื่อพวกพ่อค้าเหล่านี้เข้าไปในเมือง พวกลวะชาวเมืองก็ถามว่า ท่านมีความประสงค์ต้องการสิ่งใดหรือ พวกพ่อค้าตอบว่า พวกเรามีความต้องการอยากได้แก้ว เงิน และทองในเมืองของท่าน พวกชาวเมืองก็ตอบว่า พวกท่านอยากได้สิ่งใด ก็ให้อธิษฐานเอาตามความปรารถนาเถิด ขอแต่ให้ท่านรักษาความสัตย์ ขอสิ่งใดก็จงเอาสิ่งนั้น อย่าได้ละโมบสิ่งอื่นด้วยก็แล้วกัน

พ่อค้าได้ยินดังนั้นก็มี ความดีใจ ต่างก็ตั้งสัจจาธิษฐาน บูชาขอแก้ว เงิน ทอง ตามความปรารถนา พวกพ่อค้าได้อธิษฐานขออยู่ทุกปี บางคนก็ทำพิธีบูชาขอเอาตามพิธีการพวกลวะ บางคนก็ถือเอาวิสาสะหยิบเอาไปเสียเฉยๆ ไม่ปฏิบัติบูชา และมิหนำซ้ำยังเอาท่อนไม้ ก้อนอิฐ ก้อนดิน และของโสโครกขว้างทิ้งตามบริเวณนั้น โดยไม่ทำพลีกรรมบวงสรวงกุมภัณฑ์ก็โกรธจึงหามอินทขีลกลับสวรรค์ แต่นั้นมาบ่อเงิน บ่อทอง และบ่อแก้วก็เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ไป

ครั้งนั้น มีลวะเฒ่าคนหนึ่งเคยไปสักการบูชาเสาอินทขีลเสมอ วันหนึ่งก็เอาดอกไม้ธูปเทียนจะไปบูชาอินทขีล ก็ทราบว่ากุมภัณฑ์สองตนนั้นหามอินทขีลกลับไปบนสวรรค์เสียแล้ว ลวะผู้เฒ่าคนนั้นมีความเสียใจมากจึงร้องไห้ และไปถือเพศเป็นชีปะขาว บำเพ็ญศีลภาวนาอยู่ใต้ต้นยางนั้น ต่อมามีพระเถระเจ้าองค์หนึ่งจาริกมาจากป่าหิมพานต์มาทำนายว่า ต่อไปบ้านเมืองนี้จะถึงกาลวิบัติ พวกลวะได้ยินดังนั้นก็มีความเกรงกลัวเป็นอันมาก จึงขอร้องให้พระเถระเจ้าองค์นั้นช่วยเหลือให้พ้นภัย พระเถระเจ้าก็รับปากว่าจะช่วยเหลือ และได้ขึ้นไปขอความช่วยเหลือจากพระอินทร์อีก

พระอินทร์ก็บอกว่าให้พวก ชาวเมืองหล่ออ่างขาง ( กระทะใหญ่ทำด้วยเหล็กหล่อ ) หนา ๘ นิ้วมือขวาง กว้าง ๔ ศอก ขุดหลุมลึก ๔ ศอก แล้วปั้นรูปสัตว์ทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้อย่างละ ๑ คู่ ปั้นรูปคนทั้งหลายให้ครบร้อยเอ็ดเจ็ดภาษา ปั้นรูปช้างคู่หนึ่ง ม้าคู่หนึ่ง แล้วเอารูปปั้นเหล่านี้ใส่ลงในกระทะเอาลงฝังในหลุมนั้นแล้วก่ออิฐถมไว้ และให้ก่ออินทขีลขึ้นบ้านเมืองจึงจะพ้นภัยพิบัติได้

พระเถระเจ้าก็นำความมา แจ้งแก่ชาวเมืองให้ทราบ พวกชาวเมืองก็ปฏิบัติตามคำของพระอินทร์ทุกประการ และได้ทำพิธีบวงสรวง สักการบูชาอินทขีล บ้านเมืองก็รอดพ้นจากภัยพิบัติและเจริญรุ่งเรืองขึ้น แต่นั้นมาจึงมีประเพณีทำพิธีสัการบูชาอินทขีลตราบจนกระทั่งทุกวันนี้

ครั้นต่อมา ในสมัยพระเจ้ากาวิละได้ครองเมืองเชียงใหม่ในวันเสาร์ เดือน ๗ ( เหนือ ) ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีวอก โทศกพุทธศักราช ๑๑๖๒ ( พ . ศ . ๒๓๔๓ ) พระองค์ทรงให้สร้างรูปกุมภัณฑ์ ๒ ตนและสุเทวฤาษีไว้ข้างหออินทขีลที่วัดโชติการาม ( วัดเจดีย์หลวง ) ( ดูประกอบที่ ใจบ้าน , เสาอินทขีล )

สุดยอด กศน. NF12 อุทัยธานี

ความคิดเห็นจาก facebook