ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อคท่องเที่ยวเชียงใหม่ค่ะ

RSS

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

อาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

อาชีพอิสระเพื่อการมีรายได้ระหว่างเรียน 

"เป็นกิจกรรมอะไรก็ได้ที่เป็นการให้เด็กทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มโดยมีอาจารย์เป็นพี่เลี้ยง มุ่งสร้างงาน
สร้างประชาธิปไตย นำวิชาการมาใช้ จะดีมากสำหรับลูกคนรวยสุดกับจนสุดจะได้ทำงานร่วมกัน เป็นเพื่อนกัน ปรับตัวเข้าหากัน เคยมีพ่อแม่ที่ร่ำรวยมาขอยกเว้นว่าเขามีเงินและลูกไม่ต้องทำงานได้ไหม ไม่อยากให้ลูกเหนื่อยบางทีก็มีรดน้ำขุดดิน ขายของ เราก็เลยต้องบอกไปว่าไม่ใช่เพื่อเงินนะแต่ว่าเด็กควรจะต้องรู้ว่าที่พ่อแม่มีเงินเป็นสิบล้านนี่มันได้มายังไง เหนื่อยแปลว่าอะไร นักเรียนต้องรู้นะ ถ้าไม่รู้ต่อไปเป็นประธานบริษัท ไปใช้งานลูกน้อง จะไปใช้ได้ไง คนเขากำลังเหนื่อย กำลังหิว ถ้าได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ไว้ก่อนจะทำให้เข้าใจชีวิตดีขึ้น"

* "คนส่วนใหญ่มักจะแปลความหมายของวิชาอาชีพว่าเป็นวิชาฝีมือต่างๆแท้จริงแล้ววิชาอาชีพน่าจะหมายถึง การรู้จักทำมาหากินเพื่อเลี้ยงชีพ โดยประกอบอาชีพอะไรก็ได้ที่สุจริต ไม่ผิดศีลธรรมและเป็นการ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อาชีพอิสระ และอาชีพรับจ้างสำหรับการเรียนการสอนวิชาอาชีพในโรงเรียนนั้น มักจะสอนให้เด็กไปเป็นลูกจ้างเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่การสอนให้เป็นลูกจ้างนั้นยากกว่าการสอนให้เป็นนายตัวเอง ด้วยการประกอบอาชีพอิสระ เพราะอาชีพลูกจ้างจะถูก ระบุคุณสมบัติที่ใช้เวลาฝึกฝนและเตรียมตัวนานและตลาดแรงงานที่รับมีน้อย การสอนวิชาอาชีพอิสระนั้น จะเป็นการปลูกฝังให้เด็กเป็นนายตนเองไม่ต้อง เป็นลูกจ้าง แต่เป็นเจ้าของกิจการเล็กบ้าง ใหญ่บ้างตามกำลัง ในการทำจริงควรรวมกันเป็นกลุ่ม จะได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ด้วย ซึ่งวิธีการสอนวิชาอาชีพอิสระนั้น จะต้องปล่อยให้กิจกรรมเป็นของเด็กเอง โดยมีครูเป็นผู้ดูแลแนะนำ ไม่ใช่เป็นธุรกิจของโรงเรียน ซึ่งจะทำให้เด็กไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ขาดความกระตือรือร้นและคิดไม่เป็นว่าการทำมาหากินเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามการสอนวิชาอาชีพไม่จำเป็นต้องงดการสอนวิชาการ สอนวิชาการเท่าเดิมแต่การสอนวิชาชีพเป็นส่วนเสริมซึ่งแม้เด็กจะมุ่งเรียนต่อ ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องเสียหาย กลับเป็นการปลูกฝังคุณธรรมให้มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน และหมั่นศึกษาหาความรู้" 


วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีเข้าอินทขีล



ประเพณีเข้าอินทขีล คือการสักการบูชาเสาหลักเมือง อินทขีลหรือเสาหลักเมืองของเชียงใหม่นี้ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดเจดีย์หลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระญาแสนเมืองมา กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ซึ่งครองอาณาจักรล้านนาไทย

พระองค์ทรงสร้างวัดนี้ ขึ้นเมื่อ พ . ศ . ๑๙๕๕ อินทขีลนี้อยู่ในมณฑปจัตุรมุขวิหารทางด้านใต้ เสาหลักเมืองนี้ก่อด้วยอิฐถือปูน เชื่อกันว่าแต่เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมือง ( หรือวัดอินทขีล ) ซึ่งเป็นที่ตั้งหอประชุมติโลกราชปัจจุบันครั้นต่อมาได้ย้ายอินทขีลมาอยู่ที่ วัดนี้ ภายหลังได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ อินทขีลเป็นเสาหลักเมืองคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ เป็นที่เคารพสักการะและนับถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รวมวิญญาณของชาวเมืองและบรรพบุรุษในอดีตเป็นปูชนียสถานสำคัญของ เชียงใหม่

ในสมัยก่อน ได้มีการทำพิธีสักการบูชาอินทขีลเป็นประจำทุกปี การทำพิธีดังกล่าวนี้มักจะทำกันในปลายเดือน ๘ เหนือ ข้างแรมแก่ๆ ในวันเริ่มทำพิธีนั้นพวกชาวบ้านชาวเมืองทั้งเฒ่าแก่หนุ่ม – สาวก็จะพากันนำเอาดอกไม้ธูปเทียน น้ำขมิ้นส้มป่อยใส่พานหรือภาชนะไปทำการสระสรงสักการบูชา พิธีดังกล่าวนี้จะเริ่มทำในวันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ และเสร็จเอาเมื่อวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ เป็นประจำทุกปี จึงเรียกกันว่า
 “ เดือน ๘ เข้า เดือน ๙ ออก ”


ในระหว่างการทำพิธีนี้ จะมีการจัดให้มีซอพื้นเมืองและมีช่างฟ้อนดาบ – ฟ้อนหอกสังเวยเทพยดาอารักษ์ ผี ( เสื้อ ) บ้าน
ผี ( เสื้อ ) เมือง


ในสมัยที่เชียงใหม่ยังมีเจ้าผู้ครองนคร ก่อนที่จะเริ่มทำพิธีเข้าอินทขีลก็จะมีผู้นำเข่งขนาดใหญ่ไปขอเรี่ยไรผักปลา อาหารจากชาวบ้าน ร้าน ตลาดทั่วไป ซึ่งทุกคนจะบริจาคให้ด้วยความเต็มใจ ผักปลาอาหารที่เขามาขอเรี่ยไรไปนั้น ก็เพื่อจะเอาไปปรุงอาหารเป็นเครื่องเซ่นสังเวยเทพยดาอารักษ์ พระเสื้อบ้านเสื้อเมือง ( ล้านนา เรียกว่า เชนบ้านเชนเมือง ) และกุมภัณฑ์ที่เฝ้ารักษาอินทขีลอยู่นั้น ที่เหลือก็จะเอาเลี้ยงดูผู้ที่ไปร่วมในงานด้วย ซึ่งจะมีชาวบ้านนอกมานอนค้างอ้างแรมร่วมงานด้วย เครื่องเซ่นสังเวยนี้ นอกจากอาหารที่เก็บจากชาวบ้านมาแล้ว ก็มีอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ซึ่งฆ่าสังเวยเป็นตัวๆ เช่น หมู วัว ควาย ไก่ เป็นต้น

นอกจากการสังเวยเซ่นสรวง แล้ว ก็มีการอัญเชิญผีบ้านผีเมือง เรียกว่า “ อาฮักเจ้าหลวงคำเขียว เจ้าหลวงคำแดง ” มาเข้าทรง และพวกเจ้านายที่เป็นเจ้าผู้ครองนครและญาติวงศ์ก็จะถามถึงความเป็นไปของบ้าน เมืองว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปจะมีเหตุเภทภัยประการใดหรือไม่ ฝนฟ้าและข้าวปลาอาหารจะบริบูรณ์ดีหรือไม่ อย่างไร “ คนทรง ”( หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ที่นั่ง หรือม้าขี่ของเจ้าพ่อ ) ก็จะพยากรณ์ให้ทราบเมื่อทราบว่าชาตาของบ้านเมืองไม่สู้ดีนัก ก็จะมีการทำพิธีทางไสยศาสตร์แก้ไข เป็นการปัดเป่าให้เบาบางลง ซึ่งเรียกว่า มีการทำพิธีสืบชาตาเมือง ( สืบ คำนี้หมายถึงต่อ หมายถึงการต่ออายุเมือง ) และก่อนที่จะมีการทำพิธีเข้าอินทขีล ก็มีการเลี้ยงผีปู่ย่าหรือปู่แสะย่าแสะที่ดอยคำก่อนด้วย

การทำพิธีดังกล่าวนี้ ในสมัยก่อนได้จัดทำกันเป็นงานใหญ่และทำกันเป็นประจำทุกปี ในสมัยเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา พิธีนี้ก็ได้เลิกล้มไป ปัจจุบันได้มีการรื้อฟื้นจัดทำประเพณีนี้ขึ้นอีก แต่ทำเฉพาะการบูชาอินทขีลเท่านั้น การเข้าทรงและอื่นๆ นั้นเลิกกันไป ประเพณีเข้าอินทขีลนี้เป็นประเพณีที่แสดงถึงความสามัคคีของประชาชนพลเมือง ซึ่งจะมีประชาชนทั้งชายหญิงไปร่วมในพิธีนี้ทุกวันจนเสร็จงาน


ประวัติความเป็นมาของอินทขีล
         เท่าที่ปรากฏหลักฐานจากหนังสือตำนานสุวรรณตำแดง ( ฉบับพระมหาหมื่นวัดหอธรรม ) ได้กล่าวถึงประวัติประเพณีนี้ว่า

ในสมัยก่อนโน้นบริเวณที่ ตั้งเมืองเชียงใหม่นี้ เป็นที่อยู่ของพวกลวะ และพวกลวะที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ถูกผีร้ายมารบกวนต่างๆ นานาเป็นที่เดือดร้อนทั่วทั้งเมือง พระอินทร์ทรงเล็งเห็นความเดือดร้อนของพลเมืองก็คิดที่จะช่วยเหลือโดยบอกให้ ชาวเมืองถือศีลรักษาคำสัตย์ บ้านเมืองจึงรอดพ้นจากอันตราย ชาวเมืองก็เชื่อฟังและปฏิบัติตาม เมื่อพระอินทร์ทรงเห็นว่าชาวเมืองมีศีลมีสัตย์ดีแล้ว ก็บันดาลให้บ่อเงินบ่อทอง และบ่อแก้วเกิดขึ้นภายในเมืองและให้ชาวเมืองอธิษฐานขอเอาตามความปรารถนา ในสมัยนั้นพวกชาวเมืองมีอยู่ ๙ ตระกูลก็แบ่งพวกเป็น ๓ หมู่ๆละ ๓ ตระกูล คอยอยู่เฝ้ารักษาบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้วนั้น พวกลวะทั้ง ๙ ตระกูลนี้เองที่ทำให้เมืองได้ชื่อว่า “ เมืองนพบุรี ”

ต่อมา พวกลวะ ๙ ตระกูลนั้น ได้สร้างเวียงสวนดอกและอาศัยอยู่ภายในเมืองนี้ด้วยความเจริญเป็นเวลานาน และต่างก็มีความสงบสุข เพราะมีของทิพย์เกิดขึ้นในบ้านเมืองของตน บ้านเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ดี

ต่อจากนั้น ข่าวความอุดมสมบูรณ์ของเมืองนพบุรีที่มีบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว และของทิพย์เกิดขึ้นในเมืองเป็นที่เลื่องลือทั่วไปตามบ้านต่างๆ ทั้งใกล้เคียงและห่างไกล พวกหัวเมืองต่างๆที่ได้ข่าวก็จะจัดรี้พลเป็นกองศึกยกมา จะชิงเอาบ่อเงิน บ่อทอง และบ่อแก้ว เมื่อชาวเมืองได้ทราบข่าวศึกก็มีความตกใจและขยาดหวั่นเกรงในการศึก จึงนำความไปแจ้งแก่ฤาษีที่มาจำศีลภาวนาอยู่ที่นั้นให้ช่วยเหลือ ฤาษีจึงนำเอาความไปกราบทูลให้พระอินทร์ทรงทราบ พระอินทร์จึงให้เรียกกุมภัณฑ์ ๒ ตนนั้นมา แล้วให้ขุดเอาอินทขีลเล่มกลางใส่สาแหรกเหล็กให้กุมภัณฑ์ ๒ ตนหาบลงไปฝังไว้ที่เมืองนพบุรี ( อินทขีลที่นี้ว่าเดิมอยู่บนสวรรค์และมีอยู่ด้วยกันหลายเล่มเล่มที่เอาฝังที่ เมืองนพบุรีนี้ว่าเป็นเล่มกลาง )

ด้วยอิทธิพลอำนาจของ อินทขีลนี้เอง บันดาลให้พวกข้าศึกที่ยกกองทัพมาชิงเอาเมืองนพบุรีนั้นกลายเป็นพ่อค้าไปหมด และเมื่อพวกพ่อค้าเหล่านี้เข้าไปในเมือง พวกลวะชาวเมืองก็ถามว่า ท่านมีความประสงค์ต้องการสิ่งใดหรือ พวกพ่อค้าตอบว่า พวกเรามีความต้องการอยากได้แก้ว เงิน และทองในเมืองของท่าน พวกชาวเมืองก็ตอบว่า พวกท่านอยากได้สิ่งใด ก็ให้อธิษฐานเอาตามความปรารถนาเถิด ขอแต่ให้ท่านรักษาความสัตย์ ขอสิ่งใดก็จงเอาสิ่งนั้น อย่าได้ละโมบสิ่งอื่นด้วยก็แล้วกัน

พ่อค้าได้ยินดังนั้นก็มี ความดีใจ ต่างก็ตั้งสัจจาธิษฐาน บูชาขอแก้ว เงิน ทอง ตามความปรารถนา พวกพ่อค้าได้อธิษฐานขออยู่ทุกปี บางคนก็ทำพิธีบูชาขอเอาตามพิธีการพวกลวะ บางคนก็ถือเอาวิสาสะหยิบเอาไปเสียเฉยๆ ไม่ปฏิบัติบูชา และมิหนำซ้ำยังเอาท่อนไม้ ก้อนอิฐ ก้อนดิน และของโสโครกขว้างทิ้งตามบริเวณนั้น โดยไม่ทำพลีกรรมบวงสรวงกุมภัณฑ์ก็โกรธจึงหามอินทขีลกลับสวรรค์ แต่นั้นมาบ่อเงิน บ่อทอง และบ่อแก้วก็เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ไป

ครั้งนั้น มีลวะเฒ่าคนหนึ่งเคยไปสักการบูชาเสาอินทขีลเสมอ วันหนึ่งก็เอาดอกไม้ธูปเทียนจะไปบูชาอินทขีล ก็ทราบว่ากุมภัณฑ์สองตนนั้นหามอินทขีลกลับไปบนสวรรค์เสียแล้ว ลวะผู้เฒ่าคนนั้นมีความเสียใจมากจึงร้องไห้ และไปถือเพศเป็นชีปะขาว บำเพ็ญศีลภาวนาอยู่ใต้ต้นยางนั้น ต่อมามีพระเถระเจ้าองค์หนึ่งจาริกมาจากป่าหิมพานต์มาทำนายว่า ต่อไปบ้านเมืองนี้จะถึงกาลวิบัติ พวกลวะได้ยินดังนั้นก็มีความเกรงกลัวเป็นอันมาก จึงขอร้องให้พระเถระเจ้าองค์นั้นช่วยเหลือให้พ้นภัย พระเถระเจ้าก็รับปากว่าจะช่วยเหลือ และได้ขึ้นไปขอความช่วยเหลือจากพระอินทร์อีก

พระอินทร์ก็บอกว่าให้พวก ชาวเมืองหล่ออ่างขาง ( กระทะใหญ่ทำด้วยเหล็กหล่อ ) หนา ๘ นิ้วมือขวาง กว้าง ๔ ศอก ขุดหลุมลึก ๔ ศอก แล้วปั้นรูปสัตว์ทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้อย่างละ ๑ คู่ ปั้นรูปคนทั้งหลายให้ครบร้อยเอ็ดเจ็ดภาษา ปั้นรูปช้างคู่หนึ่ง ม้าคู่หนึ่ง แล้วเอารูปปั้นเหล่านี้ใส่ลงในกระทะเอาลงฝังในหลุมนั้นแล้วก่ออิฐถมไว้ และให้ก่ออินทขีลขึ้นบ้านเมืองจึงจะพ้นภัยพิบัติได้

พระเถระเจ้าก็นำความมา แจ้งแก่ชาวเมืองให้ทราบ พวกชาวเมืองก็ปฏิบัติตามคำของพระอินทร์ทุกประการ และได้ทำพิธีบวงสรวง สักการบูชาอินทขีล บ้านเมืองก็รอดพ้นจากภัยพิบัติและเจริญรุ่งเรืองขึ้น แต่นั้นมาจึงมีประเพณีทำพิธีสัการบูชาอินทขีลตราบจนกระทั่งทุกวันนี้

ครั้นต่อมา ในสมัยพระเจ้ากาวิละได้ครองเมืองเชียงใหม่ในวันเสาร์ เดือน ๗ ( เหนือ ) ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีวอก โทศกพุทธศักราช ๑๑๖๒ ( พ . ศ . ๒๓๔๓ ) พระองค์ทรงให้สร้างรูปกุมภัณฑ์ ๒ ตนและสุเทวฤาษีไว้ข้างหออินทขีลที่วัดโชติการาม ( วัดเจดีย์หลวง ) ( ดูประกอบที่ ใจบ้าน , เสาอินทขีล )

สุดยอด กศน. NF12 อุทัยธานี

สุดยอด กศน. NF10 แพร่

สุดยอด กศน. NF8 อุตรดิตถ์

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

วัดเจดีย์หลวง

        วัดเจดีย์หลวง



     วัดเจดีย์หลวง ถนนพระปกเกล้า วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๕๔) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๔ และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.๒๐๑๑-๒๐๙๑ นานถึง ๘๐ ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๘ ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ ๔๐.๘ เมตร ฐานกว้างด้านละ ๖๐ เมตร

   วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์ (สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๑ หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของภาคเหนือ และในวัดเจีดย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็ก ๆ เสาอินทขิลนี้สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ทุกปีในวันแรม ๑๒ ค่ำเดือน ๘ (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง

   วัดเจดีย์หลวง หรือวัดโชติการาม หรือราชกูฏ หรือกุฏาราม สร้างในสมัยพญาแสนเมืองมา (พ.ศ. 1928 - 1944) โอรสของพญากือนา ต่อมารวมพื้นที่กับวัดสุขมินท์วัดหอธรรมวัดสบฝางหรือป่าฝาง และบางส่วนของวัดพันเตาเรียกว่าวัดเจดีย์หลวง มีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น


   พระเจดีย์หลวง




     เริ่มสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1934 สมัยพญาแสนเมืองมา สมัยพญาติโลกราช (พ.ศ. 1984 - 2030) โปรดให้สร้างเสริมให้มีส่วนสูง 80 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้าง ด้านละ 56 เมตรปรับรูปทรงเป็น แบบโลหะปราสาทของลังการูปลักษณ์ทรงเจดีย์แบบพุกามดัดแปลงซุ้ม จระนำมุดเจดีย์ด้าน ตะวันออกให้เป็นซุ้มและแท่นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

       ครั้งพระแก้วมรกตประดิษฐานที่เชียงใหม่ช่วง พ.ศ. 2011 - 2091 สมัยพระเมืองแก้วหรือ พญาแก้วมีการบูรณะอีกครั้งโดยขยายฐานใหม่ให้ใหญ่ขึ้น พ.ศ. 2088 สมัยพระนางจิรประภา เกิดพายุและแผ่นดินไหว ยอดพระเจดีย์หักพังทลายลงมา เป็นอุทาหรณ์ ของการสร้างอาคารสูงในเชียงใหม่ที่ยังไม่มีใครวิตก


   พระอัฎฐารส





         เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง หล่อด้วยทองสำริด ปางห้ามญาติสูง 18 ศอก พระนางติโลกะจุดา ราชมารดาของพญาติโลกราช โปรดฯให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1954 สมัยรัชกาลที่ 5 ใช้วิหารวัดเจดีย์หลวงเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา แทนการใช้ที่วิหารวัดเชียงมั่น


   เสาอินทขีล




        เสาอินทขีลเดิมตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ซึ่งตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกว่า "สายดือเมือง" เมื่อพระเจ้ากาวิละย้ายออกจากเวียงป่าซางซึ่งอยู่นาน 14 ปี 4 เดือน 20 วันเข้าสู่นครเชียงใหม่ เมื่อเดือน 6 ขึ้น 12ค่ำ ย้ายเข้าวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2339 เพื่อ "ส้างบ้านแปลงเมือง" นำเชียงใหม่สู่ ยุคเก็บผักใส่ช้าเก็บข้าใส่เมือง ฟื้นอำนาจเชียงใหม่จนประสบชัยใน พ.ศ.2343 จึงเรียกชื่อเมืองเชียงใหม่ว่า "เมืองรัตตนติงสาภินวปุปรี" พร้อมก่อรูปกุมภัณฑ์รูป สุเทวฤษไว้ใกล้หออินทขีล ที่วัดโชติอารามวิหาร 



       ในเดือนมิถุนายน 2533 ถึงเดือน ธันวาคม 2535 กรมศิลปากรได้ว่าจ้างบริษัท ศิวกรการช่าง จำกัด บูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์หลวง ด้วยงบประมาณ 35 ล้านบาท รักษารูปทรงที่เหลืออยู่จากครั้งแผ่นดินไหว ให้มั่นคงยิ่งขึ้นโดยทำฐานกว้างด้านละ 60 เมตรและเสริมเติมส่วนที่มีร่องรอยเช่น ช้างทั้ง 8 เชือก รอบพระเจดีย์แต่ได้รับการวิจารณ์หนัก และปัจจุบันมีความพยายามให้ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ให้เต็มองค์โดยนิมนต์สมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธาน ราวกับจะให้ร่องรอยพังทลายที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หมดสิ้นไป

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร 



               สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้โปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ




                ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร เป็นวัดที่ดังมาก



ความคิดเห็นจาก facebook